เดินทางเที่ยวเดียว 3500 บาท
ไปกลับภายใน 1 วัน 4000 บาท

ต้นกำเนิดโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการพัฒนาดอยตุงฯ เป็นโครงการอันเนื่องจากพระราชดำริของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่ทรงได้รับแรงบันดาลใจจากพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชในการแก้ปัญหาการปลูกฝิ่นในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องกว่า 40 ปี ทรงสัมผัสความทุกข์ยากของชาวบ้านบนดอยตุงซึ่งมีชีวิตอยู่ในวังวนของการปลูกและค้ายาเสพติด อีกทั้งวงจรการค้ามนุษย์ซึ่งกลายเป็นปัญหาสังคมอย่างไม่จบสิ้น สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงเล็งเห็นถึงต้นเหตุแห่งปัญหาว่าเกิดจากความยากจน ความไม่รู้ และการขาดโอกาสในชีวิตของผู้คนในพื้นที่ห่างไกลและทุรกันดาร จึงทรงมีพระราชปณิธานอันแน่วแน่ที่ต้องหยุดวงจรแห่งความทุกข์ยาก โดยพัฒนาคนอย่างมีบูรณาการ ควบคู่ไปกับด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสร้างสภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ไปในเวลาเดียวกัน โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อให้ชุมชนดอยตุงสามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างมีคุณภาพต่อเนื่อง โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2531 บนพื้นที่ดำเนินงาน 93,615 ไร่ ในเขตอำเภอแม่จัน อำเภอแม่ฟ้าหลวง และอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ครอบคลุม 29 หมู่บ้านของชนเผ่าอาข่า ลาหู่ จีนก๊กมินตั๋ง ไทใหญ่ ไทลื้อ และไทลัวะ ประมาณ 11,000 คน
พระตำหนักดอยตุงเริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2530 เมื่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มี พระชนมายุ 88 พรรษา โดยก่อนหน้านั้นมีพระราชกระแสว่า หลังพระชนมายุ 90 พรรษา จะไม่เสด็จไปประทับที่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ จึงได้เลือกดอยตุง ซึ่งมีทิวทัศน์สวยงาม ขณะเดียว กันสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี เมื่อทรงทอดพระเนตรพื้นที่ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2530 ก็ทรงพอพระราชหฤทัย และมีพระราชดำริจะสร้างบ้านที่ดอยตุงพร้อมกันนี้ ยังมีพระราชกระแสรับสั่งว่าจะ ปลูกป่าบนดอยสูงจึงกำเนิดเป็น โครงการพัฒนาดอยตุงขึ้น โครงการพัฒนาดอยตุงเริ่มดำเนินการโดยความร่วมมือจากหน่วยราชการทุกส่วน เช่น กรมป่าไม้ กรมชลประทาน หน่วยงานด้านปกครอง นอกจากทำการปลูกป่าฟื้นฟูสภาพพื้นที่แล้วยังมีการฝึกอาชีพ เพื่อ ยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวเขาบนดอยตุง ซึ่งประกอบด้วยชาวเขาเผ่าอาข่าลาหู่ ไทยใหญ่ และจีนฮ่อ ขณะเดียว กันยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของตนไว้
พระบรมธาตุดอยตุง เป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดของเชียงราย ประดิษฐานอยู่บนยอดดอยตุง ในเขตกิ่งอำเภอ แม่ฟ้า หลวง มีถนนแยกจากบ้านห้วยไคร้ขึ้นไปจนถึงองค์พระบรมธาตุองค์พระธาตุบรมธาตุเจดีย์ อยู่สูงจากระดับ น้ำทะเล ประมาณ 2000 เมตร ตามตำนานมีว่า เดิมสถานที่ตั้งพระบรมธาตุดอยตุง มีชื่อว่า ดอยดินแดง อยู่บน เขาสามเส้น ของพวกลาวจก ต่อมาสมัยพระเจ้าอุชุตะราช รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์สิงหนวัต ผู้ครองนครโยนก นาคนคร เมื่อปี พ.ศ. 1452 พระมหากัสสป ได้นำพระบรมสารีริกธาตุในส่วนของพระรากขวัญเบื้องซ้าย (ไหปลาร้า) ของพระพุทธเจ้ามาถวายซึ่งตรงตามคำทำนายของพระพุทธองค์ว่าที่ดอยดินแดงแห่งนี้ ต่อไปจะเป็นที่ประดิษฐาน พระมหาสถูปบรรจุ ุพระบรมสารีริกธาตุ ในภายภาคหน้าพระเจ้าอุชุตะราช มีพระราชศรัทธา ได้เรียกหัวหน้าลาวจก มาเฝ้าพระราชทานทองคำจำนวนแสนกษาปณ์ ให้เป็นค่าที่ดินบริเวณดอยดินแดงแก่พวกลาวจก แล้วทรงสร้าง พระสถูปขึ้น โดยนำธง ตะขาบยาว 3000 วา ไปปักไว้บนดอยมื่อหางธงปลิวไปไกลเพียงใด้ ให้กำหนดเป็นฐาน พระสถูปเพียงนั้นดอย ดินแดงจึงได้ชื่อใหม่ว่า ดอยตุง (คำว่า ตุง แปลว่า ธง) เมื่อสร้างพระสถูปเสร็จก็ได้นำ พระบรมสารีริกธาตุดังกล่าวบรรจุบรรจุไว้ให้คนสักการะบูชา ต่อมาสมัยพระเจ้าเม็งรายมหาราช แห่งราชวงศ์ลาวจก พระมหาวชิระโพธิเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย จำนวนองค์ พระเจ้าเม็งรายจึงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระ สถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขึ้นอีกองค์หนึ่ง เหมือนกับพระสถูปองค์เดิมทุกประการ ตั้งคู่กัน ดังปรากฏอยู่จน ถึงทุกวันนี้ ชาวเชียงรายมีประเพณีการเดิน ขึ้นดอยบูชาพระธาตุ ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี สิ่งที่น่าสนใจ : พระธาตุดอยตุง เป็นเจดีย์สีทองขนาดเล็กสององค์ สูงประมาณ 5 ม. บนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม มีซุ้มจระนำสี่ทิศ องค์ระฆังและปลียอดมีขนาดเล็ก พระธาตุดอยตุง อยู่บนดอยสูงแวดล้อมด้วยป่ารกครึ้ม เรียกว่า สวนเทพารักษ์ เชื่อกันว่า เป็นที่สถิตของเทพารักษ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ รอยปักตุง เป็นรอยแยกบนพื้น ยาวประมาณ 1 ฟุต อยู่ด้านหน้าพระธาตุ เชื่อกันว่า เป็นรอยแยกที่ใช้ปักฐานตุง บูชาพระธาตุ เมื่อ 1,000 ปีก่อน